RegenLab PRP

RegenLab PRP

PRP (PLATELET RICH PLASMA) คือ การรักษาบนพื้นฐานของกระบวนการรักษาตัวเองตามธรรมชาติของมนุษย์ เป็นสารที่ได้จากการนำเลือดของตัวเองมาปั่นแล้วฉีดกลับเข้าไป โดยผ่านกรรมวิธีการเฉพาะในการปั่นเพื่อแยกชั้นของพลาสมา (Plasma) ซึ่งมีลักษณะเป็นสีเหลืองใสออกมา โดยในพลาสมาประกอบด้วยเกล็ดเลือด ซึ่งแพทย์จะสกัดเอาเกล็ดเลือดจากชั้นนี้ซึ่งมีความเข้มข้นสูงที่สุดมาใช้ เพราะในเกล็ดเลือดประกอบด้วยสารต่างๆ ที่ช่วยในการแข็งตัวของเลือด รวมไปถึงสารกระตุ้นการเจริญเติบโต (Growth Factor) ซึ่งเป็นกลุ่มโปรตีนประเภทหนึ่งที่มีอยู่ในร่างกายของสิ่งมีชีวิต มีหน้าที่ไปกระตุ้นให้เซลล์มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้เซลล์เหล่านั้นมีการเพิ่มจำนวนและซ่อมแซมตัวเองเกิดขึ้นนั่นเอง

โดยเกล็ดเลือดถือเป็นปัจจัยสำคัญในกลไกการซ่อมแซมเนื้อเยื่อ โดยมี Growth Factor ที่จำเป็น เช่น FGF, PDGF, TGF-ß, EGF, VEGF, IGF ซึ่งมีบทบาทในการกระตุ้น Stem cell ให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่ นอกจากนี้ เกล็ดเลือดยังกระตุ้นการทำงานของ Fibroblasts (เซลล์สร้างคอลลาเจน) และ Endothelial cell (เซลล์เยื่อบุผนังหลอดเลือด) อีกด้วย

นอกจากนี้ในน้ำพลาสมาจะมีสารอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน เกลือแร่ Growth factors ที่สำคัญ และโปรตีนที่จำเป็นต่อการอยู่รอดของเซลล์โดยพลาสมาโปรตีนจะช่วยในกระบวนการแข็งตัว (Coagulation) และการสร้างร่างแหไฟบรินเพื่อให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อใหม่

เกล็ดเลือดเข้มข้นช่วยอะไรบ้าง?

เกล็ดเลือดเข้มข้นนี้ ได้จากการปั่นเลือดของเราเองให้มีการตกตะกอนแยกชั้นระหว่างเกล็ดเลือดเข้มข้นและเม็ดเลือดแดงเม็ดเลือดขาวออกจากกัน หลังจากนั้นเราจะนำเฉพาะส่วนเกล็ดเลือดเข้มข้น มาฉีดกลับเข้าบริเวณที่เราต้องการทำการรักษา ตัวเกล็ดเลือดจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่า growth factor ช่วยในการสมานของแผล ช่วยในการฟื้นฟูเซลล์ต่างๆ ช่วยซ่อมแซมหรือฟื้นฟูเซลล์ที่อ่อนล้าให้กลับมากทำงาน รวมถึงช่วยให้มีการหลั่งของสารที่ช่วยกระตุ้นการสร้างเส้นเลือด และการกระตุ้นเซลล์รากผมให้กลับมากแข็งแรงอีกครั้ง
ซึ่งการรักษาด้วยการฉีด PRP มีการใช้มานานแล้วในวงการแพทย์ในกลุ่มของวิทยาศาตร์การกีฬา หรือ ทางแพทย์ออร์โธปิดิกส์ รักษาการบาดเจ็บของนักกีฬา หรือรักษาข้อเข่าเสื่อม รวมถึงช่วยฟื้นฟูแผลเรื้อรัง ช่วยชะลอวัยทางผิวหนัง และช่วยรักษาผมบาง ผมร่วง

สารที่อยู่ในเกล็ดเลือดเข้มข้น?

ส่วนของเกล็ดเลือดเข้มข้นที่ประกอบไปด้วยสาร Growth factor มากมาย เช่น FGF, PDGF, TGF-B, EGF, VEGF, IGF เป็นตัวช่วยให้ Stem cell ของเราทำงานได้ดีขึ้น ทั้งการเคลื่อนไหว การแบ่งตัว รวมไปถึงช่วยกระตุ้นให้เกิดการสร้างใหม่ของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงเซลล์เส้นผม การฉีด PRP จึงก่อให้เกิดการสร้างใหม่ของเนื้อเยื่อต่างๆ ช่วยทำให้มีผมงอกใหม่ ชะลอการหลุดร่วง และเส้นผมและรากผมแข็งแรงขึ้น

PRP เหมาะกับใคร ช่วยรักษาอะไรบ้าง?

  • PRP อุดมไปด้วยโปรตีนที่ช่วยในการกระตุ้นเซลล์ให้เกิดการซ่อมแซม กระตุ้นการหายของแผล ลดการอักเสบ กระตุ้นการสร้างเส้นใยคอลลาเจน รวมไปถึงการสร้างเซลล์ผิวใหม่ เซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพให้กลับมาดีขึ้นอีกครั้ง โดยสามารถช่วยรักษาทั้งผิวหน้า และปัญหาผม ดังนี้
  • PRP รักษาผิวหน้า แก้ปัญหาผู้ที่มีความยืดหยุ่นของผิวน้อย มีรอยคล้ำใต้ตา มีร่องแก้ม รวมไปถึงผู้ที่มีปัญหาเรื่องริ้วรอยตามส่วน ต่างๆ ของใบหน้า ทั้งหน้าผาก หว่างคิ้วหรือหางตา ผิวหย่อนคล้อย ผู้ที่มีแผลเป็น เป็นสิว รอยดำจากสิว ฝ้า กระ ผิวหน้าแห้งกร้าน
  • PRP รักษาปัญหาผม แก้ปัญหาผมร่วง ผมบาง ด้วยการชะลออาการผมร่วง บำรุงเซลล์รากผมให้แข็งแรง และกระตุ้นการเกิดใหม่ของเส้นผม

PRP ไม่เหมาะกับใคร

  • เป็นโรคมะเร็งและอยู่ในระหว่างการรักษาให้ยาเคมีบำบัด
  • มีประวัติเป็นโรคหรือกลุ่มอาการที่มีความผิดปกติของเกล็ดเลือด 
  • มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำรุนแรง < 100,000 เกล็ดต่อไมโครลิตร 
  • เลือดจาง มีค่าฮีโมโกลบิน < 10 กรัมต่อเดซิลิตร
  • ผู้ป่วยที่ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด หรือบริเวณที่จะทำการรักษา
  • ตั้งครรภ์ หรือ ให้นมบุตร
  • ผู้ป่วยได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาละลายลิ่มเลือด ยาNSIAD สามารถหยุดก่อน 48 ชั่วโมงได้ หรือปรึกษาแพทย์ผู้รักษาอีกครั้ง
  • มีการฉีด Corticosteroid บริเวณที่ทำการรักษาภายใน 1 เดือน หรือมีการใช้ Corticosteroid แบบกินหรือแบบฉีดเข้าร่างกายภายใน 2 สัปดาห์
  • ไม่แนะนำให้ฉีด PRP ร่วมกับ Botox หรือ Filler หากต้องการทำการรักษาร่วมกันให้เว้นระยะห่างจาก Botox 1 สัปดาห์ และ Filler 2-3 สัปดาห์ โดยอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์
  • ผู้ที่เคยเกิดอาการแพ้หลังการฉีดเกล็ดเลือดเข้มข้น(Platelet rich plasma)

จุดเด่นของการรักษาด้วยการฉีด PRP

  • เจ็บน้อยมาก
  • ไม่ใช่การผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น
  • ปลอดภัยมากเนื่องจากเป็นการใช้เลือดของตัวเอง ไม่มีสารเคมีอื่นๆลงไปในการรักษา โอกาสที่จะแพ้หรือเกิดปฏิกิริยาไม่พึงประสงค์น้อยมาก
  • การฉีด PRP สามารถทำร่วมกับการรักษาอื่นๆได้ หรือ ทำเสริมการรักษาอื่นได้